ตามที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสาน พระราชปณิธานต่อในงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรประเทศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินการอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้มีการเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. หน่วยงาน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริ การนี้ จึงได้จัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ในวันที่ 1925 กันยายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และเพื่อให้เยาวชน ประชาชน นักวิชาการ ภาคเอกชน และผู้กำหนดนโยบาย ได้เห็นความหลายหลากแห่งศักยภาพของ  ทรัพยากรไทย ได้เข้ามาเรียนรู้ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว การอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน อันเป็นผลประโยชน์แท้แก่มหาชนไทย นำไปสู่การผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย เพื่อก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ จนสามารถนำสิ่งดีงามสู่ตาโลก และให้แต่ละหน่วยงานได้กลับมาทบทวนศักยภาพความสามารถ ฐานข้อมูลต่างๆ ในชื่อว่า “ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น” เพื่อนำฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งนำมาสู่การแสดงศักยภาพของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ในชื่อว่า “ประโยชน์แท้แก่มหาชน” อันเป็นฐานในการ รักษา สืบสาน ต่อยอด ตามพระบรมราโชบายต่อไป

         ในการนี้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำหนดจัดการประชุมวิชาการชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 10 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 2022 กันยายน 2565 จึงขอเชิญหน่วยงานต่างๆ ส่งบทความฉบับเต็มร่วมนำเสนอในงานประชุมวิชาการ โดยเรื่องที่นำมาจัดแสดงจะต้องเป็นผลงานที่หน่วยงานได้ร่วมสนองพระราชดำริในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

 

1. เป็นผลงานที่ดำเนินการในพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เท่านั้น

2. เป็นผลงานในพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรที่ อพ.สธ. และหน่วยงานสนองพระราชดำริได้ร่วมสำรวจแล้ว

3. เป็นผลงานที่ดำเนินการภายใต้กรอบ/กิจกรรมของ อพ.สธ. โดยสถาบันหรือหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เท่านั้น

4. ต้องเป็นผลงานที่ปรากฏอยู่ในแผนแม่บท อพ.สธ.- หน่วยงาน

5. ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยนำเสนอที่ใดมาก่อน